เทคนิคการปั่นจักรยาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็มีความจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน

เทคนิคการปั่นจักรยาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เทคนิคการปั่นจักรยาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ถือว่าเป็นหนึ่งในโรคที่คนไทยจำนวนไม่น้อยประสบพบเจออยู่ในขณะนี้ นอกจากจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว ยังต้องคอยหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางประเภทที่อาจจะทำให้เกิดบาดแผลตามมาอีกด้วย สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก แต่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็มีความจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วย เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง แต่ การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน นั้น จะต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ได้

“การปั่นจักรยาน” เป็นหนึ่งใน การออกกำลังกาย ที่หลายคนให้ความสนใจ แต่ก็ยังมีการตั้งคำถามกันมากพอสมควรเลยทีเดียว ว่า การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมากน้อยเพียงไหน ที่ผ่านมาหลายคนจึงอาจจะเลี่ยงไปออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นแทน เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย คำตอบคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถออกกำลังกายด้วย การปั่นจักรยาน ได้ แต่จะต้องคอยระมัดระวังอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลตามร่างกาย

เดิมที ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ มักจะละเลยการควบคุมอาหาร รวมไปถึงการออกกำลังกาย โดยมีความเข้าใจผิดๆว่าหากรับประทานยาอย่างครบถ้วนจะทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติเหมือนโรคอื่นๆ แต่ความจริงแล้วโรคเบาหวานถือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเป็นเพียงการควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานอาหารอย่างมีความเหมาะสมกับร่างกาย และต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆขึ้นมา

การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน จะช่วยทำให้สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ง่ายขึ้น และทำให้น้ำหนักตัวลดลงอีกด้วย แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ปั่นจักรยานมาก่อน ให้เริ่มปั่นจักรยานทีละน้อย เพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงแข็ง รวมถึงโรคอื่นๆที่อาจจะตามมา โดยจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เพื่อให้การออกกำลังกายนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จะส่งผลดีต่อร่างกายของเราในระยะยาว 

เทคนิคการปั่นจักรยาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • เริ่มต้นด้วยการ warm up และ cool down อย่างละ 5 นาที เพื่อให้ร่างกายมีการปรับสภาพก่อน
  • ในกรณีมีการฉีดอินซูลิน ห้ามออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินกำลังออกฤทธิ์
  • ควรปั่นจักรยานหลังจากรับประทานอาหารไปสักระยะหนึ่งแล้ว ไม่ควรรีบออกกำลังกายในทันทีหลังจากการรับประทานอาหาร
  • หากรู้สึกมีอาการป่วย หรือมีไข้ ควรงดเว้น กิจกรรมการออกกำลังกายชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
  • แนะนำให้สวมใส่อุปกรณ์ที่มีการตรวจจับชีพจรขณะปั่นจักรยานได้ เพราะจำเป็นต้องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่ให้เกินเพดาน
  • ควรปั่นจักรยานเป็นกลุ่ม เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้มีคนคอยให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *