5 ขั้นตอนดูแล และเช็กเบรคจักรยานเบื้องต้น

5 ขั้นตอนดูแล และเช็กเบรคจักรยานเบื้องต้น

5 ขั้นตอนดูแล และเช็กเบรคจักรยานเบื้องต้น ด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

 

 

เบรคจักรยานนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากสำหรับจักรกยาน เพราะมันเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ขับขี่โดยตรง ซึ่งจำเป็นต้องดูแลรักษาไม่น้อยกว่าส่วนอื่น โดยเฉพาะคนที่ใช้งานจักรยานเป็นประจำไม่ว่าจะเพื่อการออกกำลังกาย หรือใช้เป็นพาหนะประจำวัน เราจึงได้นำ5 ขั้นตอนดูแล และเช็กเบรคจักรยานเบื้องต้นด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยตัวเอง มาแนะนำกันสามารถเอาไปใช้กันได้เลย

 

 

-ขั้นตอนที่ 1  ตรวจสอบมือเบรกว่ายังทำงานปกติไหมโดยใช้วิธี บีบเบรกแบบย้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง และดูความผิดปกติหากพบว่ามือเบรกจม ให้บีบย้ำแรง ๆ หลาย ๆ รอบอีกครั้ง หากมือเบรกยังจมแสดงว่ามีความผิดปกติ แนะนำให้เข้าร้าน เพื่อซ่อมแซมและแก้ไขอย่าพึ่งฝืนใช้เพราะไม่เกิดผลดีแน่นอน

-ขั้นตอนที่ 2  ให้ทำการหมุนล้อจักรยานเพื่อเป็นการสำรวจการสัมผัสของใบดิสก์เบรค รวมไปถึงผ้าเบรก ว่ามีการเสียดสีกันหรือไม่ ระหว่างที่หมุนล้อให้สังเกตใบดิสก์ว่ามีการเบี้ยวงอหรือไม่ หากเบี้ยวหรืองอ ก็ให้นำเข้าร้านเพื่อซ่อมแซม ตรวจสอบแก้ไข บางอาการอาจจะถึงขั้นต้องเปลี่ยนใบดิสก์ใหม่

-ขั้นตอนที่ 3 ให้ลองเข็นรถไปมา พร้อมกับเบรกแล้วสังเกตว่ายังหยุดได้เป็นปกติหรือไม่ หากบีบเบรกแล้วมีเสียงเสียดสี หรือเสียงหอนออกมา ให้ไปดูใบดิสก์เบรค รวมไปถึงผ้าเบรกว่ามีสิ่งสกปรกเช่นฝุ่นหรือโคลนติดอยู่หรือไม้หากมีก็ให้ทำความสะอาด อาการก็จะหายไป หากทำความสะอาดแล้วยังมีเสียงอยู่ก็ต้องนำเข้าร้านซ่อม

-ขั้นตอนที่ 4 การทำความสะอาดดิสก์เบรคไม่ต้องถอดล้อก็สามารถทำได้ โดยเป็นการทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทั่วไป ชุบโดยกระดาษทิชชู หรือผ้าที่ไม่เป็นขน เช็ดบริเวณบนจานดิสก์

-ขั้นตอนที่ 5 เป็นการเช็กผ้าเบรกดูแลเบื้องต้น โดยเริ่มต้นด้วยการคลายนอต ที่ยึดติดผ้าเบรคออกหลังจากนั้นให้ดึงผ้าเบรคออกมา แล้วเริ่มทำการขัดผ้าเบรกด้วยกระดาษทรายผิวที่ไม่หยาบ เบอร์ที่เหมาสำหรับก็คือกระดาษทรายเบอร์ 300-400 ก็ใช้ได้แล้ว และลองสังเกตพร้อมกับเช็กความหนาของผ้าเบรก โดยต้องมีความหนาอย่างน้อย 0.5 มิลลิเมตร หากบางกว่านั้นก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนได้แล้ว เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการปั่นจักรยาน

นี่เป็นเพียงขั้นตอนดูแล และเช็กเบรกจักรยานเบื้องต้นเท่านั้น หากมีเบรคมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ก็อย่าได้พยายาม อาจจะกลายเป็นเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย แนะนำว่าเอาเข้าร้านซ่อมเพื่อตรวจสอบแก้ไขจะดีที่สุด

 

5 ขั้นตอนดูแล และเช็กเบรคจักรยานเบื้องต้น


.

.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *